0 2583 8035,
09 8995 4650
ISO 9001:2015 Certified

ความหนาที่เหมาะสมของฉนวนกันความร้อน

รายละเอียด

หากใครเคยต้องตัดสินใจเลือกความหนาของฉนวนกันความร้อนกัน คงจำได้ว่ามีปัจจัยที่สำคัญอยู่ 2 ข้อใหญ่คือ อุณหภูมิผิวของอุปกรณ์ที่ต้องการหุ้มฉนวนและระยะเวลาการใช้งานอุปกรณ์นั้นหลังหุ้มฉนวน เพราะ 2 ปัจจัยที่ว่านี้จะนำมาใช้ในการคำนวณจุดคุ้มทุน (Return on Investment: ROI) ได้นั่นเอง โดยเนื้อหาในบทความนี้จะขอยกตัวอย่างการคำนวณจากหน้างานจริงเปรียบเทียบให้เห็นภาพ ของฉนวนกันความร้อน 2 ความหนา คือ ความหนา 25 มม. และความหนา 50 มม.

ตัวอย่างเช่น หน้างานต้องการหุ้มฉนวนที่ผิวเตาอบ (พลังงานไฟฟ้า) พื้นที่รวม 20 ตรม. ซึ่งมีอุณหภูมิผิวเฉลี่ย 150 องศาเซลเซียส จำนวนชั่วโมงทำงานของเตา 24 ชั่วโมงต่อวัน ทำงานทั้งหมด 26 วันต่อเดือน และมีอุณหภูมิห้องอยู่ที่ 32 องศาเซลเซียส ค่าไฟฟ้าเฉลี่ยหน่วยละ 3.80  บาท/หน่วย

Variable Insulation Thickness

Surface Temp (°C)

Heat Loss (W/m^2)

Efficiency (%)

Bare

149.8

1742.00

 

15.0

62.2

325.60

81.31

25.0

50.5

182.00

89.56

40.0

45.5

126.60

92.73

50.0

42.7

97.16

94.42

65.0

40.9

78.86

95.47

80.0

39.6

66.38

96.19

90.0

38.7

57.32

96.71

100.0

38.0

50.44

97.11

1. รายการคำนวณหลังหุ้มฉนวนหนา 25 มม. (ความหนาแน่น 160 กก./ลบม.)

อุณหภูมิผิวเตาก่อนหุ้ม 150.0 องศาเซลเซียส หลังหุ้ม 50.5 องศาเซลเซียส

Heat Loss ก่อนหุ้มฉนวน 1,742.00 วัตต์/ตรม. x 24 ชั่วโมง x 26 วัน x 20 ตรม. = 21,740.16 kW

Heat Loss หลังหุ้มฉนวน 182.00 วัตต์/ตรม. x 24 ชั่วโมง x 26 วัน x 20 ตรม. = 2,271.36 kW

ค่าไฟฟ้าที่สูญเสียก่อนติดตั้ง 3.80 x 21,740.16 = 82,612.61 บาท/เดือน

ค่าไฟฟ้าที่สูญเสียหลังติดตั้ง 3.80 x 2,271.36 = 8,631.17 บาท/เดือน

ผลประหยัดค่าไฟฟ้า 73,981.11 บาท/เดือน

สมมติให้มูลค่างานฉนวนพร้อมติดตั้ง 200,000 บาท

จุดคืนทุน (ROI) 200,000 / 73,981.11 = 2.70 เดือน

2. รายการคำนวณหลังหุ้มฉนวนหนา 50 มม. (ความหนาแน่น 160 กก./ลบม.)

อุณหภูมิผิวเตาก่อนหุ้ม 150.0 องศาเซลเซียส หลังหุ้ม 42.7 องศาเซลเซียส

Heat Loss ก่อนหุ้มฉนวน 1,742.00 วัตต์/ตรม. x 24 ชั่วโมง x 26 วัน x 20 ตรม. = 21,740.16 kW

Heat Loss หลังหุ้มฉนวน 97.16 วัตต์/ตรม. x 24 ชั่วโมง x 26 วัน x 20 ตรม. = 1,212.56 kW

ค่าไฟฟ้าที่สูญเสียก่อนติดตั้ง 3.80 x 21,740.16 = 82,612.61 บาท/เดือน

ค่าไฟฟ้าที่สูญเสียหลังติดตั้ง 3.80 x 1,212.56 = 4,607.73 บาท/เดือน

ผลประหยัดค่าไฟฟ้า 78,004.88 บาท/เดือน

สมมติให้มูลค่างานฉนวนพร้อมติดตั้ง 260,000 บาท

จุดคืนทุน (ROI) 260,000 / 78,004.88 = 3.33 เดือน

สรุป

จากการคำนวณโดยเปรียบเทียบฉนวนกันความร้อนทั้ง 2 ความหนา พบว่าความหนา 25 มม. เป็นความหนาที่เหมาะสมกับงานนี้มากกว่าฉนวนหนา 50 มม. เนื่องจากประสิทธิภาพของฉนวนต่างกันแค่ประมาณ 5% แต่ราคาต่างกันอยู่ถึง 30% และจะเห็นได้ว่า ROI ของฉนวน 25 มม. สั้นกว่า ในขณะที่อุณหภูมิผิวหลังหุ้มฉนวนต่างกันแค่ประมาณ 7 องศาเซลเซียส จะเห็นได้ว่าความหนาที่มากกว่าอาจไม่ได้เป็นความหนาที่เหมาะสมเสมอไป และนี่คือตัวอย่างหนึ่งของการเลือกความหนาที่เหมาะสมของฉนวนกันความร้อนสำหรับแก้ปัญหาในงานอุตสาหกรรม

Tag
แชร์