8 คำถามยอดนิยมเกี่ยวกับฉนวนกันความร้อน

1. ฉนวนกันความร้อนของทาง NTI ต่างกับฉนวนที่ใช้ตามบ้านอย่างไร

ตอบ – ฉนวนกันความร้อนของทาง NTI เป็นฉนวนที่ถูกออกแบบและผลิตมาเพื่อใช้ลดความร้อนหรือป้องกันความร้อนสำหรับเครื่องจักรและอุปกรณ์ต่างๆในโรงงานอุตสาหกรรม จึงมีคุณภาพและราคาสูงกว่าฉนวนกันความร้อนแบบที่ใช้สำหรับอาคารและที่พักอาศัยทั่วไป เนื่องจากฉนวนจะถูกติดตั้งกับพื้นผิวที่มีอุณหภูมิสูงมากๆ (200-900 C ) ต่อเนื่องกันเป็นเวลานานหลายๆปี ในขณะที่ฉนวนกันความร้อนตามอาคารบ้านเรือน จะถูกใช้กับอุณหภูมิที่เกิดจากความร้อนแผ่ของแสงแดด ระหว่าง 40-60 C เท่านั้น

2. ความหนามาตรฐานของฉนวนกันความร้อน ZAVE จาก NTI

ตอบ – ฉนวนกันความร้อนจาก NTI มีความหนาเริ่มต้นที่ 4.0 mm, 6.0 mm, 10.0 mm, 12.0 mm, 25 mm และ 50 mm หรือขนาดสั่งพิเศษคือ 100 mm สำหรับความหนาแน่น (density : kg/m3) ก็จะมีค่าที่ 130, 160 และ 180 สำหรับสั่งพิเศษก็จะมีไปจนถึง 220

3. ส่วนประกอบหลักของฉนวนกันความร้อนจาก HKO Germany

ตอบ – ฉนวนกันความร้อนที่เรานำเข้าจาก HKO Germany จะมี 2 ประเภทคือ 1) ฉนวนใยแก้ว หรือ E-Glass Needle Mat ที่มีส่วนประกอบของซิลิก้าออกไซด์ และ 2) ฉนวนใยเซรามิค หรือ Haceram ที่มีส่วนประกอบของแร่ซิลิเกท ซึ่งฉนวนทั้งสองชนิดจะไม่มีส่วนผสมของแร่เอสเบสตอส หรือแร่ใยหิน

4. อายุการใช้งานโดยเฉลี่ยของฉนวนกันความร้อนจาก NTI

ตอบ – ฉนวนกันความร้อนของทาง NTI จะมีอายุการใช้งานเฉลี่ย 3-4 ปี ขึ้นอยู่กับประเภทของชิ้นงานหรือเครื่องจักรที่ทำการติดตั้งฉนวนว่ามีความร้อนและสภาพเงื่อนไขในการทำงานเป็นอย่างไร หากอยู่ด้านนอกอาคารก็จะมีอายุฉนวนราว 1-3 ปี แต่หากอยู่ด้านในอาคารก็จะมีอายุของฉนวนประมาณ 3 ปีขึ้นไป

5. ข้อควรระวังเมื่อทำการติดตั้งหรือหุ้มฉนวนกันความร้อน

ตอบ – ฉนวนกันความร้อนของ HKO Germany สามารถลดความร้อนได้มากสุดถึงร้อยละ 75 เมื่อเลือกใช้ได้อย่างเหมาะสม แต่มีข้อควรระวังคือฉนวนไม่สามารถทนของมีคมหรือกันน้ำได้ ดังนั้นทางเจ้าของงานต้องแจ้งกับทางผู้จำหน่ายหรือผู้ออกแบบฉนวนกันความร้อนว่า เงื่อนไขการใช้งานจริงของฉนวนต้องเสริมผ้ากันน้ำหรือผ้ากันบาดรวมถึงกันการเสียดสีด้วยหรือไม่ เพื่อยืดอายุฉนวนให้ใช้งานได้นานและคุ้มค่ามากที่สุด

6. การเลือกความหนาของฉนวนกันความร้อนให้เหมาะกับงาน

ตอบ – การเลือกฉนวนกันความร้อนให้เหมาะสมกับงานมิใช่แค่การเลือกฉนวนให้หนามากที่สุด เพราะการใช้ฉนวนหนาที่สุดเท่าที่จะหนาได้ นอกจากจะทำให้เสียค่าใช้จ่ายมากขึ้นเกินความจำเป็นแล้ว ยังอาจส่งผลเสียต่อเครื่องจักรหรือชิ้นงานที่ต้องหุ้มฉนวนด้วย เพราะน้ำหนักฉนวนที่เพิ่มขึ้นหรือความร้อนสะสมภายในที่สูงเกินไป ในทางวิศวกรรมสามารถคำนวณความหนาของฉนวนที่เหมาะสมได้จากค่าสัมประสิทธิ์การนำความร้อน (thermal conductivity) ที่ฉนวนนั้นๆระบุค่าไว้ หรือสำหรับฉนวนของ NTI สามารถประเมินได้ง่ายๆว่าที่ความหนา 25 mm จะลดความร้อนผิวได้ประมาณ 50% ที่ความหนา 50 mm จะลดได้ประมาณ 70%

7. ทราบได้อย่างไรว่าฉนวนกันความร้อนหมดอายุการใช้งานแล้ว

ตอบ – ฉนวนกันความร้อนที่หมดอายุแล้วหรือฉนวนที่ไม่สามารถลดความร้อนได้มากกว่า 30% เช่น อุณหภูมิผิว 300 C หลังติดตั้งฉนวนในตอนแรกมีอุณหภูมิผิวที่ฉนวน 100 C (ลดความร้อนได้ราว 70%) เมื่อผ่านไป 3-4 ปีพบว่ามีอุณหภูมิผิวที่ฉนวน 200 C นั่นหมายความว่าค่าความเป็นฉนวนได้เสื่อมลงจนบางครั้งเรียกว่าฉนวนหมดอายุ ซึ่งฉนวนหมดอายุไม่จำเป็นว่าต้องเปลี่ยนรูปทรงหรือบางลงตามที่คนส่วนใหญ่เข้าใจเท่านั้น แต่เมื่อใช้เครื่องมือวัดที่เชื่อถือได้ทดสอบจะพบว่ามีค่า thermal conductivity เปลี่ยนไป (มากขึ้น) นั่นเอง 8. ทำไมฉนวนกันความร้อนต้องมี MSDS หรือเอกสารด้านความปลอดภัยกำกับ

ตอบ – ฉนวนกันความร้อนจากผู้ผลิตที่ได้มาตรฐานอุตสาหกรรมและความปลอดภัย ต้องจัดทำเอกสารด้านความปลอดภัย ประกอบด้วย ชื่อผู้ผลิต ที่ตั้งโรงงาน ส่วนประกอบทางเคมี ประเภทของสารอ้นตราย (ถ้ามี) วิธีการปฏิบัติตนเบื้องต้น (สำหรับผู้แพ้สารบางตังในฉนวน) จนกระทั่งถึงวิธีการป้องกันและหยิบจับฉนวน ซึ่งเอกสารฉบับนี้จะมีประโยชน์อย่างมากสำหรับ จป. หรือเจ้าหน้าที่ด้านความปลอดภัย ที่จะทำการตรวจสอบเบื้องต้นว่า ฉนวนกันความร้อนที่จะนำเข้าไปใช้ในโรงงานนั้น มีแนวโน้มจะก่อให้เกิดอันตรายอันใดแก่พนักงานในโรงงานหรือไม่