การถ่ายเทความร้อนโดยการพา
ตามที่เราได้ทราบกันแล้วว่า ความร้อนมีการถ่ายเทได้ 3 รูปแบบ คือ
- โดยการพา (convection of heat transfer)
- โดยการแผ่ (radiation of heat transfer)
- โดยการนำ (conduction of heat transfer)
หากเรามีความรู้ในทฤษฎีข้างต้นอยู่บ้าง ก็จะทำให้เราเข้าใจเรื่องความร้อนและการถ่ายเทความร้อนพร้อมที่จะนำไปประยุกต์ใช้สำหรับการเลือกฉนวนกันความร้อนหรืองานหุ้มฉนวนประหยัดพลังงาน เพราะวิธีการเลือกฉนวนกันความร้อนนั้น หากเลือกให้หนาที่สุดโดยปราศจากการคำนวณ ก็จะทำให้เกิดผลเสียมากกว่าผลดี นั่นคือเสียเงินเพิ่มขึ้นเพราะความหนาฉนวนที่มากเกินจำเป็น และเสียเงินเพิ่มขึ้นกรณีที่ฉนวนหนาเกินไปจนส่งผลให้เกิดความร้อนสะสมในเครื่องจักรและชิ้นงาน เพราะฉนวนกันความร้อนที่หนามากเกินไปจะทำให้อุณหภูมิภายในเครื่องจักรสูงขึ้นมาก ซึ่งอาจจะมีโอกาสส่งผลให้เกิดความผิดปกติกับชิ้นงานและการทำงานของเครื่องได้ แต่หากเลือกฉนวนกันความร้อนที่ความหนาเหมาะสมได้ ก็จะทำให้ลดการสูญเสียความร้อนที่ผิวและประหยัดค่าพลังงานได้ตามที่ต้องการ
การพาความร้อน (Convection of Heat Transfer)
เมื่อของไหลสัมผัสกับผิวของวัตถุที่มีอุณหภูมิแตกต่างกันก็จะมีการแลกเปลี่ยนพลังงานความร้อนระหว่างของไหลกับวัตถุ กระบวนการแลกเปลี่ยนความร้อนนี้เรียกว่า การถ่ายเทความร้อนโดยการพา หรือการพาความร้อน กระบวนการพาความร้อนดังกล่าวนี้เป็นปรากฏการณ์พื้นๆ แต่กลไกของการถ่ายเทความร้อนนั้นซับซ้อนมาก จึงจะไม่กล่าวถึงวิธีการวิเคราะห์ แต่จะเสนอกลไกและสมการหลักๆ ที่สามารถใช้คำนวณหาอัตราการพาความร้อนจากส่วนย่อยๆ ของระบบ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของระบบที่ใช้ให้ความร้อนและใช้ระบายความร้อน การถ่ายเทความร้อนโดยการพา หรือการพาความร้อนนี้แบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะคือ
- การพาความร้อนแบบอิสระ (free convection)
- การพาความร้อนแบบบังคับ (force convection)
แรงที่ทำให้ของไหลเกิดการเคลื่อนไหวของการพาความร้อนแบบอิสระนั้นเกิดจากความแตกต่างของอุณหภูมิภายในก้อนของไหลเนื่องมาจากการที่ของไหลสัมผัสกับผิวของวัตถุที่มีอุณหภูมิแตกต่างกันจนทำให้เกิดแรงลอยตัวขึ้น ตัวอย่างของการพาความร้อนแบบอิสระนี้ได้แก่การถ่ายเทความร้อนระหว่างผนังหรือหลังคาบ้านที่เกิดขึ้นในวันที่ไม่มีลมพัด การพาความร้อนภายในกาต้มน้ำที่มีขดลวดให้ความร้อน หรือการถ่ายเทความร้อนจากผิวของตัวเก็บความร้อนที่ได้มาจากดวงอาทิตย์ในช่วงที่ไม่มีลมพัด
การพาความร้อนแบบบังคับจะเกิดขึ้นเมื่อมีแรงภายนอกมาบังคับให้ของไหลเคลื่อนที่ผ่านผิววัตถุที่ร้อนกว่าหรือเย็นกว่า เนื่องจากการไหลของการพาความร้อนแบบบังคับมีความเร็วที่สูงกว่าแบบอิสระ ดังนั้นถ้าหากความแตกต่างของอุณหภูมิมีขนาดเท่าๆ กันแล้ว การพาความร้อนแบบบังคับก็จะมีอัตราการพาความร้อนที่สูงกว่า แต่ไม่ว่าจะเป็นพาความร้อนแบบไหนก็ตาม ต่างมีสมการสำหรับหาอัตราการพาความร้อนที่อยู่ในรูปของ กฎการเย็นตัวของนิวตัน (Newton’s law of cooling) ซึ่งมีรูปสมการเป็น
qC = hC A(TS – Tf ,∞ )
เมื่อ hC = สัมประสิทธิ์การพาความร้อนเฉลี่ย (average convective heat transfer coefficient)
ที่ผิวสัมผัสระหว่างของไหลกับวัตถุ หรือ หนึ่งหน่วยการนำจากการพาความร้อน
(unit thermal conductance) หน่วย W / m2K
A = พื้นที่ผิวของวัตถุที่สัมผัสกับของไหล หน่วย m2
TS = อุณหภูมิของผิววัตถุ หน่วย K
Tf ,∞ = อุณหภูมิของของไหลอิสระที่อยู่ห่างออกไปจากผิววัตถุมากๆ หน่วย K
ค่า h C นี้หาได้ทั้งโดยวิธีวิเคราะห์และวิธีทดลอง หน่วยของ h C ในระบบเอสไอนั้นเป็นวัตต์ต่อตารางเมตรต่อองศาเคลวิน
ตารางที่ 1 เป็นค่าประมาณของ h C รวมทั้งค่า h C จากการเดือดและการกลั่นตัวของไอน้ำ
ตารางที่ 1 ค่าโดยประมาณของสัมประสิทธิ์การพาความร้อนเฉลี่ย
ประเภทของการพาความร้อนและชนิดของของไหล |
h C (W / m2K ) |
การพาความร้อนแบบอิสระ, อากาศ |
5-25 |
การพาความร้อนแบบอิสระ, น้ำ |
200-100 |
การพาความร้อนแบบบังคับ, อากาศ |
10-200 |
การพาความร้อนแบบบังคับ, น้ำ |
50-10,000 |
น้ำที่กำลังเดือด |
3,000-100,000 |
ไอของน้ำที่กำลังกลั่นตัว |
5,000-100,000 |
จะเห็นได้ว่าจากสมการ “การพาความร้อน” ข้างต้น สามารถนำไปคำนวณหาความหนาที่เหมาะสมของ ฉนวนกันความร้อน สำหรับงานนั้นๆได้จาก ค่าความนำความร้อน (thermal conductivity) ที่ระบุไว้ของฉนวนแต่ละประเภท ซึ่งก็คือปริมาณความร้อน (kcal) ที่ไหลผ่านพื้นที่ผนัง 1 M2 ในเวลา 1 ชั่วโมงภายใต้ความแตกต่างของอุณหภูมิ 1°C ต่อความหนาของผนัง 1 M
ฉนวนกันความร้อนของทาง NTI มีค่าความนำความร้อนดังนี้
Thermal conductivity DIN EN 1094 (W*m-1*K-1):
specific density |
50 °C |
100 °C |
200 °C |
300 °C |
400 °C |
500 °C |
density 130 kg/m3 |
0.039 |
0.044 |
0.057 |
0.075 |
0.097 |
0.121 |
density 160 kg/m3 |
0.041 |
0.046 |
0.060 |
0.078 |
0.100 |
0.125 |